พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
พระมเหศวรตรง กร...
พระมเหศวรตรง กรุวัดพระศร๊ฯ สุพรรณบุรี (สภาพใช้ยังน่ารัก) ติดรางวัลที่1และที่3
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาแต่สมัยโบราณ เดิมชาวบ้านเรียก วัดพระธาตุ ตั้งอยู่ที่ ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
ฝั่งทิศตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณ (ท่าจีน) ห่างจากเชิงสะพานข้ามแม่น้ำสุพรรณประมาณ ๒๐๐ เมตร มีองค์พระปรางค์เป็นประธาน และมีเจดีย์รายรอบที่มีสภาพปรักหักพังหมด
ประวัติการสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ยังเป็นข้อถกเถียง และโต้แย้งกันอยู่ว่า สร้างขึ้นในสมัยใดกันแน่ แม้จะปรากฏหลักฐานเป็นแผ่นลานทองจารึกประวัติการสร้าง ที่พบเมื่อครั้งเปิดกรุในปี ๒๔๕๖ แต่ก็ยังขาดความสมบูรณ์ เนื่องจากแผ่นลานทองสูญหายและชำรุดไปเป็นจำนวนมาก
จากหลักฐานเอกสารแผ่นจารึกต่างๆ คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย ให้ข้อสันนิษฐานว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุนี้มีโอกาสที่จะเป็นไปได้มากว่าสร้างในรัชสมัย สมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ ๒ (เจ้าสามพระยา พ.ศ.๑๙๖๗-๑๙๙๑) และบูรณปฏิสังขรณ์อีกครั้งในรัชสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.๑๙๙๑-๒๐๓๑)
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองสุพรรณบุรี มาแต่ครั้งโบราณ ในสมัยอู่ทองจำต้องร้าง เพราะภัยสงครามระหว่างไทย-พม่า เมื่อคราวกรุงศรีอยุธยาแตก พ.ศ.๒๓๑๐ ทหารพม่าได้ปล้นสะดมประชาชนคนไทย พร้อมทั้งกวาดต้อนครอบครัวไทยไปเป็นเชลยยังเมืองพม่า ชาวสุพรรณที่รักอิสระจึงต้องหนีซอกซอนไปอาศัยอยู่ตามป่าดงพงไพร ทิ้งบ้าน ทิ้งวัด ปล่อยให้รกร้าง ปราศจากผู้คนดูแล เมืองสุพรรณจึงรกร้างไปร่วมร้อยปี
กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ นับเป็นแหล่งที่ค้นพบพระพิมพ์ที่สำคัญ และได้รับความนิยมสูงหลายต่อหลายพิมพ์ รวมถึงพระพิมพ์หนึ่งในชุดเบญจภาคี คือ พระผงสุพรรณ และอีกพิมพ์หนึ่งในชุดเบญจภาคีพระยอดขุนพล คือ พระมเหศวร
นอกจากนี้ยังมีพระพิมพ์สำคัญๆ อีกหลากหลาย อาทิ พระสุพรรณหลังผาน (หลังพระ) พระสุพรรณยอดโถ พระปทุมมาศ พระกำแพงศอก พระท่ามะปรางค์ พระถ้ำเสือ พระอรัญญิก พระร่วงยืน พระร่วงนั่ง พระลีลาพิมพ์ต่างๆ ฯลฯ
ประวัติที่มาของกรุแตก และพบแผ่นลานทอง ที่เล่าขานกันมาคือ มีชาวจีนคนหนึ่งปลูกผักอยู่ใกล้วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดร้าง) วันหนึ่ง ได้ปีนขึ้นไปบนองค์พระปรางค์ แล้วงไปในกรุ ได้พบแก้วแหวนเงินทองเป็นจำนวนมาก จึงขโมยออกมา แล้วหนีไปเมืองจีน
ต่อมามีคุณลุงอาชีพพายเรือจ้าง ลงไปในกรุเป็นคนที่ ๒ ได้แผ่นลานทอง และพระกำแพงศอกขึ้นมาหลายองค์ แผ่นลานทองเอาไปหลอมได้ทองราว ๒๐-๓๐ บาท นับเป็นการทำลายหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ ไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อย่างน่าเสียดายยิ่ง
จากนั้นเมื่อชาวบ้านรู้ข่าวต่างก็แห่กันไปลงกรุ ขนเอาพระเครื่อง พระบูชา ตลอดจนพระกำแพงศอก ไปเป็นจำนวนมาก กว่าทางราชการจะรู้เรื่อง การขุดกรุล่วงเลยไปถึงประมาณ ๑๐ วัน ผู้ว่าราชการเมือง พระทวีประชาชน (อี้ กรรณสูต) ต่อมาเป็น พระยาสุนทรสงคราม จึงตั้งกรรมการขุดกรุขึ้นมาชุดหนึ่ง ได้พระเครื่องพระบูชาเป็นเล่มเกวียน กับลานทอง ๓-๔ แผ่น ส่งไปให้กรมศิลปากร สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส ทรงแปลอักษรในลานทอง แล้วส่งสำเนาคำแปลกลับมายังผู้ว่าราชการเมืองสุพรรณ พระมเหศวร จัดได้ว่า เป็นพระที่มีพิมพ์ลักษณะแปลกพิมพ์หนึ่งของพระเครื่องเมืองไทย ที่ขุดพบในกรุวัดพระศรีฯ แห่งนี้ เป็นพระเนื้อ ชินเงิน ศิลปะอู่ทอง เช่นเดียวกับ พระผงสุพรรณ สันนิษฐานว่าเป็นพระที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์เมืองอู่ทอง
พระมเหศวร นอกจากจะมีพิมพ์พระเศียรสวนกลับกันคนละหน้าแล้ว ยังมี พิมพ์สวนเดี่ยว คือเป็นพระหน้าเดียว ด้านหลังเรียบ บางองค์ด้านหลังมีลายผ้า
นอกจากนี้ ยังมีพระพิมพ์ ๒ หน้า โดยมีพระเศียรไปทางด้านเดียวกัน เรียกว่า พิมพ์สวนตรง เหมือนกับพระพิมพ์ ๒ หน้าทั่วๆ ไป
พระพุทธคุณ เยี่ยมยอดด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดมหาอุด โดยเฉพาะด้านคงกระพันชาตรี ถือว่าสุดยอดที่สุด ความนิยมของพระมเหศวรจัดอยู่ในระดับแถวหน้าของวงการพระเครื่องประเภทเนื้อชินยอดขุนพล
ผู้เข้าชม
6230 ครั้ง
ราคา
-
สถานะ
โชว์พระ
โดย
ชื่อร้าน
มะกะระ พระกรุ
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
0818306399
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
244-0-006xx-x

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
tangmoNithipornErawanep8600LeoKshop
มงคลเก้าBAINGERNLeksoi8Spidermanจ่าดี พระกรุพล ปากน้ำ
Kumpangอภินันต์ พระเครื่องchathanumaansomphopAchitermboon
พระเครื่องโคกมนเจริญสุขchaokohswatขนุนฉลองกรุงnengggg
fuchoo18บี บุรีรัมย์lynnเพชร สารคามchaithawatPopgomes

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1223 คน

เพิ่มข้อมูล

พระมเหศวรตรง กรุวัดพระศร๊ฯ สุพรรณบุรี (สภาพใช้ยังน่ารัก) ติดรางวัลที่1และที่3




  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
พระมเหศวรตรง กรุวัดพระศร๊ฯ สุพรรณบุรี (สภาพใช้ยังน่ารัก) ติดรางวัลที่1และที่3
รายละเอียด
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาแต่สมัยโบราณ เดิมชาวบ้านเรียก วัดพระธาตุ ตั้งอยู่ที่ ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
ฝั่งทิศตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณ (ท่าจีน) ห่างจากเชิงสะพานข้ามแม่น้ำสุพรรณประมาณ ๒๐๐ เมตร มีองค์พระปรางค์เป็นประธาน และมีเจดีย์รายรอบที่มีสภาพปรักหักพังหมด
ประวัติการสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ยังเป็นข้อถกเถียง และโต้แย้งกันอยู่ว่า สร้างขึ้นในสมัยใดกันแน่ แม้จะปรากฏหลักฐานเป็นแผ่นลานทองจารึกประวัติการสร้าง ที่พบเมื่อครั้งเปิดกรุในปี ๒๔๕๖ แต่ก็ยังขาดความสมบูรณ์ เนื่องจากแผ่นลานทองสูญหายและชำรุดไปเป็นจำนวนมาก
จากหลักฐานเอกสารแผ่นจารึกต่างๆ คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย ให้ข้อสันนิษฐานว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุนี้มีโอกาสที่จะเป็นไปได้มากว่าสร้างในรัชสมัย สมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ ๒ (เจ้าสามพระยา พ.ศ.๑๙๖๗-๑๙๙๑) และบูรณปฏิสังขรณ์อีกครั้งในรัชสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.๑๙๙๑-๒๐๓๑)
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองสุพรรณบุรี มาแต่ครั้งโบราณ ในสมัยอู่ทองจำต้องร้าง เพราะภัยสงครามระหว่างไทย-พม่า เมื่อคราวกรุงศรีอยุธยาแตก พ.ศ.๒๓๑๐ ทหารพม่าได้ปล้นสะดมประชาชนคนไทย พร้อมทั้งกวาดต้อนครอบครัวไทยไปเป็นเชลยยังเมืองพม่า ชาวสุพรรณที่รักอิสระจึงต้องหนีซอกซอนไปอาศัยอยู่ตามป่าดงพงไพร ทิ้งบ้าน ทิ้งวัด ปล่อยให้รกร้าง ปราศจากผู้คนดูแล เมืองสุพรรณจึงรกร้างไปร่วมร้อยปี
กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ นับเป็นแหล่งที่ค้นพบพระพิมพ์ที่สำคัญ และได้รับความนิยมสูงหลายต่อหลายพิมพ์ รวมถึงพระพิมพ์หนึ่งในชุดเบญจภาคี คือ พระผงสุพรรณ และอีกพิมพ์หนึ่งในชุดเบญจภาคีพระยอดขุนพล คือ พระมเหศวร
นอกจากนี้ยังมีพระพิมพ์สำคัญๆ อีกหลากหลาย อาทิ พระสุพรรณหลังผาน (หลังพระ) พระสุพรรณยอดโถ พระปทุมมาศ พระกำแพงศอก พระท่ามะปรางค์ พระถ้ำเสือ พระอรัญญิก พระร่วงยืน พระร่วงนั่ง พระลีลาพิมพ์ต่างๆ ฯลฯ
ประวัติที่มาของกรุแตก และพบแผ่นลานทอง ที่เล่าขานกันมาคือ มีชาวจีนคนหนึ่งปลูกผักอยู่ใกล้วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดร้าง) วันหนึ่ง ได้ปีนขึ้นไปบนองค์พระปรางค์ แล้วงไปในกรุ ได้พบแก้วแหวนเงินทองเป็นจำนวนมาก จึงขโมยออกมา แล้วหนีไปเมืองจีน
ต่อมามีคุณลุงอาชีพพายเรือจ้าง ลงไปในกรุเป็นคนที่ ๒ ได้แผ่นลานทอง และพระกำแพงศอกขึ้นมาหลายองค์ แผ่นลานทองเอาไปหลอมได้ทองราว ๒๐-๓๐ บาท นับเป็นการทำลายหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ ไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อย่างน่าเสียดายยิ่ง
จากนั้นเมื่อชาวบ้านรู้ข่าวต่างก็แห่กันไปลงกรุ ขนเอาพระเครื่อง พระบูชา ตลอดจนพระกำแพงศอก ไปเป็นจำนวนมาก กว่าทางราชการจะรู้เรื่อง การขุดกรุล่วงเลยไปถึงประมาณ ๑๐ วัน ผู้ว่าราชการเมือง พระทวีประชาชน (อี้ กรรณสูต) ต่อมาเป็น พระยาสุนทรสงคราม จึงตั้งกรรมการขุดกรุขึ้นมาชุดหนึ่ง ได้พระเครื่องพระบูชาเป็นเล่มเกวียน กับลานทอง ๓-๔ แผ่น ส่งไปให้กรมศิลปากร สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส ทรงแปลอักษรในลานทอง แล้วส่งสำเนาคำแปลกลับมายังผู้ว่าราชการเมืองสุพรรณ พระมเหศวร จัดได้ว่า เป็นพระที่มีพิมพ์ลักษณะแปลกพิมพ์หนึ่งของพระเครื่องเมืองไทย ที่ขุดพบในกรุวัดพระศรีฯ แห่งนี้ เป็นพระเนื้อ ชินเงิน ศิลปะอู่ทอง เช่นเดียวกับ พระผงสุพรรณ สันนิษฐานว่าเป็นพระที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์เมืองอู่ทอง
พระมเหศวร นอกจากจะมีพิมพ์พระเศียรสวนกลับกันคนละหน้าแล้ว ยังมี พิมพ์สวนเดี่ยว คือเป็นพระหน้าเดียว ด้านหลังเรียบ บางองค์ด้านหลังมีลายผ้า
นอกจากนี้ ยังมีพระพิมพ์ ๒ หน้า โดยมีพระเศียรไปทางด้านเดียวกัน เรียกว่า พิมพ์สวนตรง เหมือนกับพระพิมพ์ ๒ หน้าทั่วๆ ไป
พระพุทธคุณ เยี่ยมยอดด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดมหาอุด โดยเฉพาะด้านคงกระพันชาตรี ถือว่าสุดยอดที่สุด ความนิยมของพระมเหศวรจัดอยู่ในระดับแถวหน้าของวงการพระเครื่องประเภทเนื้อชินยอดขุนพล
ราคาปัจจุบัน
-
จำนวนผู้เข้าชม
6337 ครั้ง
สถานะ
โชว์พระ
โดย
ชื่อร้าน
มะกะระ พระกรุ
URL
เบอร์โทรศัพท์
0813116011
ID LINE
0818306399
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงเทพ / 244-0-006xx-x




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี